Lorem ipsum dolor sit amet, pri et feugiat consulatu. Eu per ceteros platonem. Ea dictas legendos ius. At adhuc solum has. Nec at harum euripidis, habeo elitr patrioque ne mel. Mei probo oportere posidonium in, has ei everti volutpat consequat.
เป็นเครื่องวัดความแข็งยาง ซึ่งทางห้องปฏิบัติการของเรา มีเครื่องวัดความแข็งที่สามารถวัดได้หลายหน่วย เช่น Shore A สำหรับ ทดสอบยางทั่วไป , Shore C, สำหรับ ทดสอบความแข็งยาง ที่มีความ นิ่ม , Shore O สำหรับทดสอบยางฟองน้ำ
เป็นเครื่องมือวัดความหนาแน่นหรือความถ่วงจำเพาะของยาง
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ Compression Set ของยางเป็นการวัดความสามารถของยางในการรักษาสมบัติความยืดหยุนหลังจากได้รบแรงกดอัด โดยใช้ Compression Plates และ Spacer เป็นตัวทดสอบการกดอัดที่ 25% ของชิ้นทดสอบ Type A เป็นการทดสอบตามมาตรฐาน ASTM D395 Compression Set
เป็นเครื่องมือที่ใช้ทดสอบ การอบบ่มเร่งของยาง (Accelerated Aging of rubber) เป็นการทดสอบยางวัลคาไนซ์ หรือ ยางคางคงรูปแล้วด้วยการอบบ่มเร่งหรือความทนทานต่อความร้อน ภายใต้ความดันบรรยากาศปกติ ทำให้เสื่อมสภาพ โดยอากาศร้อน แล้วนำไปวัดสมบัติที่ต้องการ นำไปเปรียบเทียบกับสมบัติของยางที่ไม่ได้ผ่านการอบบ่มเร่ง จะรายงานผลการทดสอบเป็นการเปลี่ยนแปลง ของสมบัติร้อยละ (%) ยกตัวอย่าง เช่น
- Change in Hardness (Unit)
- Change in Tensile Strength (%)
- Change in Elongation At Break (%)
- Change in Tear Strength (%) เป็นการทดสอบตามมาตรฐาน ASTM D 573-04 Deterioration in an Air Oven
เป็นเครื่องมือที่ใช้ทดสอบการคงรูปของยาง (Vulcanization characteristics) โดยการใช้แรงบิดหรือหมุน Rotor ให้ได้มุมบิดคงที่ที่ 1 องศา (1 angle) โดยมีการควบคุมอุณหภูมิที่คงที่ ภายในช่องว่างระหว่างดายบน (Upper Die) และดายล่าง (Lower Die) ผลที่ได้จะแสดงเป็นเส้นกราฟการคงรูปของยาง ระหว่างแรงบิด (Torqe) กับเวลา (Time) จะทำให้ทราบถึงเวลาสกอร์ช (Scorch time) เวลาที่ยางสุด 90% (90% Cure Time) ค่าความหนืดต่ำสุด (ML) ค่าความหนืดสูงสุด (MH) ค่าแรงบิดต่ำสุด (Minimum Torqe) ค่าแรงบิดสูงสุด (Maximum Torqe) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์การคงรูปของสายยางตามาตรฐาน ASTM D2084-07 Vulcanization Using Oscillating Disk Cure Meter
เป็นเครื่องมือทดสอบที่ใช้วัดคุณสมบัติของยางด้านการดึง (Tension Test) ของยางคงรูปหรือยางวัลคาไนซ์ โดยจะใช้แรง (Force) ดึงชิ้นทดสอบด้วยอัตราความเร็วคงที่ให้ยืดออกเป็นการวัดสมบัติด้านความแข็งแรงความสามารถในการยืด และ ความทนทานต่อาการผิดรูป และการรับแรงดึงของยางวัลคาไนซ์ การทดสอบนี้เป็นไปตามมาตรฐาน
1. ASTM D 412-06 a Vulcanized Rubber and Thermoplastic Elastomers-Tension
2. ASTM D 624 Tear Strength of Conventional Vulcanized Rubber and Thermoplastic Elastomors การดึงยางแล้ววัดแรงและส่วนยืดอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งยางขาดจะได้ข้อมูลบ่งบอกคุณภาพของยางดังต่อไปนี้
- ความทนแรงดึง (Tensile Strength) มีหน่วยเป็น N/mm2
- ความยืดขาด (Elongation At Break) มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์
- ความต้านทานต่อการฉีกขาด (Tear Strength) มีหน่วยเป็น N/mm
1.ความแข็งของยาง (Hardness of Rubber)
2.ความทนแรงดึง (Tensile Strength) มีหน่วยเป็น N/mm2 หรือ MpascaL
3.ความยืดขาด (Elongation at Break) มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์
4.ความต้านทานต่อการฉีกขาด (Tear Strength) มีหน่วยเป็น/mm
5.ค่าความถ่วงจำเพาะของยาง (Specific gravity)